สตรีทฟู้ด “บรรทัดทอง” เติมมิติใหม่ย่านปทุมวัน กับภารกิจสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ

บนผืนดินทั้งหมดของจุฬาฯ เขตปทุมวัน 1,153 ไร่ สยามสแควร์ จามจุรีสแควร์ สามย่าน-สวนหลวง เป็นพื้นที่ 3 โซนที่ถูกจัดสรรไว้สำหรับจัดหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อนำรายได้ส่งกลับมาบำรุงมหาวิทยาลัย

“บรรทัดทอง”…อาณาเขตโซนสวนหลวง คือหนึ่งในนั้น ถนนความยาวเกือบ 1.5 กม. ตั้งแต่แยกพระราม 4 – แยกเจริญผล ที่เป็นดั่งม้านอกสายตาบนพื้นที่ไข่แดงของกรุงเทพฯ มาตลอด แต่กลับกำลังได้รับการพูดถึงอย่างมากในบทบาทของย่านสตรีทฟู้ดเกิดใหม่ ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
จุดเริ่มต้นเป็นมายังไง เหตุใดสตรีทฟู้ดบรรทัดทองจึงกลายมาเป็นแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของปทุมวัน ที่มีภาพจำเป็นเขตแดนแห่งศูนย์การค้า
และที่แห่งนี้จะเสริมสถานะปทุมวันให้ยังเป็นย่านหัวแหวนกรุงเทพฯ ได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางความเจริญของเมืองที่กำลังขยายตัวแบบดาวกระจายได้อย่างไร

:: ตึกแถว 3 ชั้นยุคแรก ::
แม้กำหนดการใช้งานที่ดินของจุฬาฯ ชัดเจนมาตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย แต่แรกเริ่มจุฬาฯ โฟกัสการพัฒนาส่วนสถานศึกษาเป็นหลัก เขตพาณิชย์เดิมยังเป็นแปลงผัก ชุมชนที่เข้ามาตั้งรกราก

ต่อมาจุฬาฯ ใช้วิธีสร้างตึกแถวแล้วปล่อยเช่า ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นวิธีการในการช่วยจัดระเบียบชุมชน และสร้างความปลอดภัยให้ประชาคมในพื้นที่ โดยนับเป็นโซนแรก ๆ ของกรุงเทพฯ ที่มีการสร้างตึกแถว 3 ชั้น
:: ไชน่าทาวน์ 2 ::
ตั้งแต่อดีตคนไทยนิยมอยู่บ้านเดี่ยวที่มีอาณาบริเวณล้อมรอบ ทำให้ประชาคมส่วนใหญ่ในพื้นที่พาณิชย์ของจุฬาฯ หลังสร้างตึกแถวจะเป็นคนเชื้อสายจีนซึ่งคุ้นเคยกับการอยู่อาศัยในตึกแถว โดยเป็นกลุ่มคนจีนที่ขยายตัวออกมาจากเยาวราช
แต่บุคลิกบรรทัดทองจะไม่ได้เป็นคอมเมอร์เชียลชัดเจนเท่าสยามสแควร์ จะมีความเป็นร้านค้า ปรุงปนไปกับความเป็นชุมชนอยู่อาศัย และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดร้านอาหารใหม่ ๆ ที่มีดีเอ็นเอไชน่าทาวน์จากในเยาวราช
:: เปิดเป็นหน้าบ้าน ::
อย่างไรก็ตาม แรกเริ่มบรรทัดทองไม่ได้มีความโดดเด่นอะไร และยังไม่มีการจัดโซนนิ่งกันจริง ๆ มีความหลากหลายของธุรกิจการค้า จนการเริ่มล้มหายไปของธุรกิจรถยนต์ในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากลักษณะโลจิสติกต์ของกิจการฮาร์ดคอร์อย่างการเปลี่ยนเครื่องยนต์รถยนต์กลางถนน ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเมือง และระบบการสัญจรใช้ถนนในพื้นที่
รวมถึงการเกิดขึ้นของ “อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ” ซึ่งวางตัวชิดขอบถนนฝั่งการศึกษา และชิดขอบบรรทัดทอง เบิกทางให้ถนนที่เปรียบดั่งหลังบ้านของที่ดินจุฬาฯ กลายมาเป็นหน้าบ้าน สร้างความโดดเด่นให้พื้นที่ของประชาคมจุฬาฯ, คนในย่าน, คนทำงานออฟฟิศ, นักท่องเที่ยว ที่มีความต้องการบริโภคอาหารตั้งแต่มื้อเช้าจรดมื้อค่ำ

เริ่มเห็นภาพเขตพาณิชย์ของจุฬาฯ จนถึงชายขอบ และชุมชนในพื้นที่ก็เริ่มมีการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสความต้องการใหม่ ๆ ที่เข้ามา
:: ไม่ได้ตั้งใจ ::
ประมาณ 2 เดือนหลังเปิดใช้งานอุทยานฯ สเตเดี้ยมวัน ก็เปิดตามมา โดยเป็นโปรเจกต์ที่วางโพสิชันนิ่งชัดเจนให้เป็นคอมมูนิตี้ของโซนสปอร์ต จากทำเลที่ตั้งบริเวณหัวมุมแยกเจริญผล ด้านหลังสนามกีฬาแห่งชาติ และเห็นโอกาสในเทรนด์ที่กำลังมาแรงตอนนั้น อย่างกิจกรรมการวิ่ง การปั่นจักรยาน
แต่ด้วยกระแสของการวิ่งและจักรยาน รวมทั้งแอคทิวิตี้ของผู้เช่าที่เริ่มดาวน์ลง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงต้องหาร้านอาหารมาเพื่อดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติม ส่งเสริมประเภทธุรกิจหลักอย่างสปอร์ต ความเก่งของผู้รับสัมปทาน คือ สามารถนำร้านอาหารดัง ๆ จากเยาวราช ตลาดน้อย หรือร้านอาหารที่ยังไม่เคยมีการเปิดสาขาใหม่ และร้านที่ไม่ทับไลน์กับที่มีอยู่เดิมในสามย่าน-สวนหลวง มาเปิดได้ต่อเนื่อง และยังได้แรงส่งจากซัปพลายที่เพียงพอของตัวสเตเดี้ยมวัน จนส่วนร้านอาหารเริ่มขยายตัวมาเป็นคอร์บิสิเนส
นับเป็นการจุดกระแสร้านอาหารในบรรทัดทองขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มาจากความตั้งใจที่วางแพลนมาตั้งแต่เดย์วัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“Cheals Bar”…บาร์ rooftop เปิดใหม่ มู้ดดี สนุกอารมณ์ ปักหมุดที่แฮงค์เอาท์ใหม่ ณ ซอยอารีย์

L-Seven Café & Bar… บาร์ลับ ๆ ย่านนานา

บาร์น้องใหม่สุดคูล “SEE You Ekkamai”